หากคุณอยากจะเป็นเทรดเดอร์ คุณก็จะต้องใช้บริการของโบรกเกอร์ออนไลน์ในการเข้าถึงตลาดทางการเงิน มีโบรกเกอร์ออนไลน์เป็นร้อยๆ รายซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องทางกฎหมาย

เป็นเรื่องสำคัญในการเลือกโบรกเกอร์ที่ดี และมันก็ดีที่คุณสามารถเทรดจนได้กำไร แต่มันจะไม่คุ้มเอาสะเลยถ้าหากคุณไม่สามารถถอนเงินนี้ออกมาได้ เราเคยเห็นโบรกเกอร์หลายๆ แห่งก่อนหน้านี้ที่หายตัวกันไปแบบข้ามคืนพร้อมกับเงินของลูกค้า

บน Trading.in.th เราจะแสดงเฉพาะโบรกเกอร์ในปัจจุบันที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมจากหน่วยงาน และคุณจะได้ประโยชน์ยิ่งไปกว่านี้ เพราะบางโบรกเกอร์คิดค่าคอมมิชชั่นที่ไม่สูงหรือมีบริการอื่นๆ ให้กับลูกค้าอีกด้วย

บางโบรกเกอร์มีทั้งคอร์สฝึกสอนและการสัมมนาทางออนไลน์แบบฟรี อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่ช่วยเทรดที่สำคัญอีกมาก อย่างเช่น เครื่องคำนวณขนาดการเทรด ปฏิทินทางเศรษฐกิจ ฟีดข่าวทางการเงินและอื่นๆ อีกมาก

ในประเทศไทยเองนี้ บางโบรกเกอร์อยู่ภายใต้การควบคุมจากสำนักงานคณะกรรมการกลต. ซึ่งกลต. เองยังเป็นผู้อนุญาตและควบคุมโบรกเกอร์และผลิตภัณฑ์การลงทุนในตลาดการเงินซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจว่าเงินของผู้ลงทุนนั้นจะได้รับการป้องกัน 

ทางหน่วยงานจะอัพเดตรายชื่อโบรกเกอร์ที่ขึ้นอยู่ในแบล็คลิสท์ประจำเดือนไว้ แต่ถ้าคุณติดตามคำแนะนำของเราบน Trading.in.th มันก็จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากโบรกเกอร์ที่ไม่ได้รับการอนุญาตได้ด้วย

ค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่น 

ทางโบรกเกอร์จะมีค่าคอมมิชชั่นสำหรับการดำเนินการเทรดออนไลน์ และหากคุณได้เปิดการเทรดไปจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น มันอาจจะก่อให้เกิดค่าคอมมิชชั่นที่สะสมเพิ่มพูนจนลดกำไรที่คุณอาจจะได้หรืออาจจะทำให้คุณขาดทุนมากขึ้นก็ได้

ดังนั้นคุณควรจะต้องเลือกกลยุทธ์ในการเทรดให้ดี

บางโบรกเกอร์อาจจะไม่มีการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นแต่จะเป็นการเรียกเก็บจากค่าสเปรดแทน ซึ่งค่าสเปรดนี้เกิดจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขายของสินทรัพย์นั่นเอง

และคุณก็ควรจะต้องเข้าใจด้วยว่าคุณควรจะขายสินทรัพย์ออกไปเมื่อไหร่โดยเอาไปเทียบกับราคาที่คุณซื้อสินทรัพย์นั้นมา

ในทางตรงกันข้างนั้น เมื่อคุณจะซื้อสินทรัพย์เข้ามา คุณก็ควรจะดูราคาขายด้วยมันถึงจะสมเหตุสมผล

ค่าที่ต่างกันของราคาซื้อและราคาขายนั้นถือเป็นของโปรดของโบรกเกอร์เลย เพราะคุณจะต้องจ่ายค่าสเปรดทุกๆ ครั้งที่คุณปิดการเทรดของคุณลง

หน่วยงานควบคุมการเทรดออนไลน์ 

หน่วยงานควบคุมการเทรดออนไลน์

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่าโบรกเกอร์จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ ในตลาด หน่วยงานเหล่านี้มีหน้าที่รับรองว่าสถาบันการเงินจะปฏิบัติตามไกด์ไลน์และข้อบังคับในการให้บริการทางการเงิน

นอกจากกลต. แล้วยังมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมทางการเงินอื่นๆ อีกอยู่ทั่วโลก โดยหน่วยงานควบคุมการเทรดออนไลน์ที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ได้แก่:

·   FCA (Financial Conduct Authority) เป็นหน่วยงานควบคุมทางการเงินของประเทศอังกฤษ

·   NFA (National Futures Association), หน่วยงานกำกับดูแลตลาดอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกา

·   ASIC (Australian Securities and Investments Commission) หน่วยงานดูแลของประเทศออสเตรเลีย

·   FSA (Financial Services Agency) เป็นหน่วยงานควบคุมทางการเงินของประเทศญี่ปุ่น

หน่วยงานของญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลสาขาต่างๆ ที่ประจำอยู่แต่ละประเทศของโบรกเกอร์ จริงๆ แล้วโบรกเกอร์แต่ละรายก็มีสาขาประจำอยู่ในแต่ละประเทศทั่วโลก แต่ละสาขาก็จะได้รับการควบคุมจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งช่วยให้สาขาต่างๆ นี้ทำตามกฎหมายประจำท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม