หากคุณเป็นคนที่ชอบติดตามข่าวการเงินเป็นประจำ มันก็ถือเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ฟังผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดหุ้นมาพูดคุยกันเกี่ยวกับสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, พันธบัตรหรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำหรือน้ำมัน สินทรัพย์เหล่าเป็นของยอดนิยมและนักลงทุนส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในตลาดนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ อีกที่นักลงทุนหลายคนยังไม่ค่อยรู้จักและยังไม่เข้าใจ
หนึ่งในผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ CFD (Contract for Difference) เป็นตราสารอนุพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงนี้และโบรกเกอร์ออนไลน์หลายแห่งก็ได้เสนอให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยๆ
มาดูความเห็นของเรากันว่าโบรกเกอร์ออนไลน์สำหรับการเทรด CFD ที่ไหนที่เราคิดว่าดีที่สุดบ้างและพวกเขามีข้อแตกต่างกันอย่างไร
การเทรด CFD ทำงานอย่างไร
หากคุณต้องการเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD ก่อนอื่นเลยเราจะต้องอธิบายแนวคิดบางประการรวมถึงตราสารอนุพันธ์ให้คุณทราบก่อน
Derivatives หรือตราสารอนุพันธ์คืออะไร
สิ่งแรกที่คุณต้องเข้าใจเกี่ยวกับ CFD คือมันเป็นตราสารอนุพันธ์ ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังซื้อขายอยู่นี้มันไม่มีมูลค่าในตัวมันเองแต่เป็นการอ้างอิงมูลค่ามาจากสินทรัพย์อื่น ดังนั้นหมายความว่าคุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินใดๆ แต่จะเป็นการเทรดเพื่อเก็งกำไรจากราคาของสินทรัพย์อ้างอิงแทน
ประเภทของตราสารอนุพันธ์ที่มีการเทรดซื้อขายกันมากที่สุด ได้แก่:
- Futures (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
- Swaps (สัญญาแลกเปลี่ยน)
- Options (ตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่เป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินในอนาคต)
สินทรัพย์อ้างอิงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น, พันธบัตร, อัตราดอกเบี้ยและสกุลเงิน
ตราสารอนุพันธ์นี้เป็นที่ต้องการของเหล่าเทรดเดอร์มืออาชีพที่ใช้เพื่อการกระจายความเสี่ยงหรือป้องกันความเสี่ยงหรือที่เรียกว่า เฮดจิ้ง (Hedging) ในความเป็นจริงแล้วตลาดอนุพันธ์นั้นมีขนาดใหญ่มากและมีมูลค่าประมาณ 640 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพื่อให้คุณมองเห็นภาพมากขึ้น อาจจะบอกได้ว่ามูลค่าของตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ $90 trillion ตามรายงานของ CNBC
แต่จากตามรายงานของ Bank for International Settlements(BIS) มูลค่าตลาดอยู่ที่ 12 ล้านล้านดอลลาร์เท่านั้น!
ใช้ Leverage ในการเทรด
ลองนึกภาพการเทรดสัญญา CFD จากโบรกเกอร์ในการสั่งซื้อน้ำมันดิบ 1,000 บาร์เรล ราคาปัจจุบันของน้ำมันหนึ่งบาร์เรลอยู่ที่ประมาณ 40 ดอลลาร์ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องใช้เงิน 40,000 ดอลลาร์เพื่อทำการซื้อในทันที
ใน CFD นี้คุณไม่ได้ซื้อน้ำมันจริงๆ และไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนผ่านการใช้ Leverage โบรกเกอร์จะอนุญาตให้คุณสามารถใช้มาร์จิ้นได้ซึ่งมันจะขึ้นอยู่กับระดับของ Leverage ที่ทางโบรกเกอร์เสนอขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่นการใช้มาร์จิน 10% แล้วคุณลงทุนไป $4,000 ในกรณีนี้มูลค่าตามสัญญาจะเป็น $40,000
หน้าที่ของโบรกเกอร์
โบรกเกอร์แต่ละแห่งจะมีจุดที่แตกต่างบางประการซึ่งมันขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะเทรดตราสารอนุพันธ์ในตลาดไหน โดยทั่วไปแล้วตลาดตราสารอนุพันธ์จะมีการรวมศูนย์กลางอยู่ นอกจากนี้ก็ยังสามารถเป็น OTC หรือ Over The Counter ได้ด้วย
ในกรณีแรกนี้ ตราสารอนุพันธ์จะถูกซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยน เช่น Chicago Mercantile Exchange (CME) ตลาด OTC จะมีจุดที่แตกต่างกันเนื่องจากจะไม่มีการรวมศูนย์และนี่จึงเป็นเหตุที่ทำให้โบรกเกอร์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าตลาด Forex เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดไปแล้วทั่วโลก โดยมีการซื้อขาย 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน ปัญหาในตลาด OTC นี่จะอยู่ตรงที่ไม่มีหน่วยงานที่จะคอยตรวจสอบตลาดทั้งหมดอยู่ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ โบรกเกอร์รายย่อยต่างๆ จึงคิดว่าพวกเขาสามารถสร้างความร่วมมือกับผู้เล่นหลักในตลาด Forex อย่างเช่นธนาคารขนาดใหญ่ๆ ได้ และด้วยความร่วมมือเหล่านี้เอง โบรกเกอร์รายย่อยต่างๆ จึงสามารถขอราคาอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดและยื่นเสนอให้กับลูกค้าได้
จากนั้นเหล่าโบรกเกอร์ก็คิดได้ว่าพวกเขาสามารถเสนอบริการอื่นๆ ที่มากกว่าแค่คู่สกุลเงิน พวกเขาจึงเริ่มนำสินทรัพย์อื่นๆ เข้ามาให้บริการด้วย เช่น หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, ดัชนีและ Cryptocurrencies สิ่งที่โบรกเกอร์จะต้องก็คือการสร้างพันธมิตรกับผู้ให้บริการสภาพคล่องและสร้าง Synthetic contracts ขึ้นมาตามราคาตลาด
ดังนั้นเทรดเดอร์รายย่อยจึงมีโอกาสที่จะซื้อสัญญาตามราคาตลาดของตราสารได้ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไปเทรดเดอร์ก็สามารถทำกำไรหรืออาจจะต้องรับผลขาดทุนที่เป็นผลมาจากผลต่างระหว่างราคาซื้อและราคาตลาดปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้มันจึงชื่อว่า Contract for Difference (CFD) สำหรับโบรกเกอร์นั้น พวกเขาได้รับค่าตอบแทนจากค่าสเปรดของราคาตลาดที่เขาได้รับจากผู้ให้บริการสภาพคล่อง ค่าสเปรดนี้ช่วยให้โบรกเกอร์สามารถทำกำไรได้ไม่ว่าคุณจะเทรดได้กำไรหรือไม่ก็ตาม
เนื่องจากโบรกเกอร์เป็นคนที่สร้าง CFD ของตัวเองขึ้นมา มันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คุณจะต้องเลือกใช้บริการกับโบรกเกอร์ที่ดี มีหลายกรณีที่เคยเกิดขึ้นที่เหล่าโบรกเกอร์ที่ไม่ได้รับการควบคุมจะทำการควบคุมราคาเอง นั่นคือเหตุผลที่เราอยากจะแนะนำเฉพาะโบรกเกอร์ CFD ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานทางการตลาด หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินนั้นมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าโบรกเกอร์ CFD จะปฏิบัติตามสัญญา
Leverage คืออะไร
ก็เหมือนกันเช่นเดียวกับโบรกเกอร์ที่ให้บริการตราสารอนุพันธ์อื่นๆ โบรกเกอร์ CFD ไม่ได้ต้องการให้เทรดเดอร์ทำการเทรดสินทรัพย์ที่เต็มมูลค่า ในความเป็นจริงแล้วทางโบรกเกอร์ต้องการเพียงแค่ให้เราสร้างสัญญาการเทรดกับพวกเขา และนี่ก็เป็นผลดีที่พวกเขาได้รับจาก Leverage
โบรกเกอร์ที่เสนอบริการ CFD นี้ต้องฝากเงินจำนวนเล็กน้อยเพื่อดำเนินการคำสั่งซื้อ เงินฝากนี้ถือเป็นการฝากที่ถูกต้องและเป็นเหมือนการประกันที่เรียกว่ามาร์จิ้น
Leverage จะช่วยให้คุณได้รับโอกาสที่ดีในตลาดด้วยการฝากเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โบรกเกอร์ CFD บางรายอาจเสนอเลเวอเรจสูงสุดที่ 1:1000 ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องมีส่วนต่าง 0.1% ในการเปิดคำสั่งเทรด (1/1000 x 100)
ตัวอย่างการเทรดด้วย CFD
การเทรด CFD สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์นั้นค่อนข้างเป็นที่นิยม เราจะแสดงตัวอย่างด้วยทองคำดังต่อไปนี้
สมมติว่าคุณต้องการซื้อทองคำ 100 ทรอยออนซ์ที่ 1,800 ดอลลาร์และเลือกโบรกเกอร์ CFD ที่ให้เลเวอเรจ 1:100 ดังนั้นคุณจะต้องมีเงิน 1,800 เหรียญเพื่อเปิดคำสั่งเทรด:
(100 x $1,800) / 100 = $1,800
ในการคำนวณต้นทุนการทำธุรกรรมนี้ เราจะต้องคิดว่าโบรกเกอร์นั้นคิดค่าสเปรดหรือค่าคอมมิชชั่นด้วย
ค่าสเปรด
ในตัวอย่างนี้ สมมติว่าโบรกเกอร์ที่คุณเลือกเรียกเก็บเงินจากคุณ $0.5 ซึ่งทำให้ราคาซื้อรวมเป็นเงิน $1,800.50:
(100 x $1,800.5) / 100 = $1,800.50
หากราคาทองคำเท่ากับ $1,850 คำสั่งซื้อของคุณจะถูกจับคู่กับราคาขายที่ $1,849.50 โดยสมมติว่าค่าสเปรดยังคงเท่าเดิมที่ $0.5 ดังนั้นกำไรของคุณจะเท่ากับ $49 สำหรับทองคำแต่ละออนซ์:
($1,849.50 – $1,800.50) = $49
แต่เนื่องจากคุณซื้อทองคำ 100 ทรอยออนซ์ มันจึงให้ทำกำไรรวมเป็น $4,900:
(100 x $49) = $4,900
สมมติว่าคุณมีเงินทุน $10,000 ในบัญชีเทรด นี่หมายความว่าคุณทำกำไรได้ 49% จากการทำธุรกรรม และเมื่อเทียบกับเทรดเดอร์ที่ซื้อทองคำจริงๆ ในราคาเดียวกันแล้ว ผลกำไรที่ได้รับจาก CFD จะสูงกว่ามาก หากคุณซื้อทองคำจริงผลกำไรจะอยู่แค่ที่ $50 ซึ่งจะต้องถูกหักจากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมด้วย
($1,850 – $1,800) = $50
แต่อย่างไรก็ตามคงเป็นไปได้ยากที่คุณจะสามารถทำกำไรตลอด บางครั้งคุณก็อาจจะขาดทุนได้ ลองนึกดูว่าราคาต่อออนซ์เปลี่ยนจาก $1,800 เป็น $1,750 ในขณะที่ค่าสเปรดคงที่ที่ $0.5 มันจะทำให้คุณขายทองคำที่ซื้อมาในราคา $1,749.50 ซึ่งส่งผลให้ขาดทุนไป $51 ต่อออนซ์ ดังนั้นในกรณีนี้จะทำให้คุณขาดทุนเท่ากับ $ 5,100:
($1,800.50 – $1,749.50) x 100 = $5,100
หากคุณมีเงินทุน $10,000 นั่นก็หมายความว่าคุณสูญเสียเงินทุนไปทั้งสิ้น 51% จากการทำธุรกรรมในครั้งนี้ โบรกเกอร์บางรายจะมีระดับ Stop-out หรือการปิดสถานะคำสั่งเทรดหากเงินทุนของคุณลดลงไปตามเปอร์เซ็นต์ที่ถูกกำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่เทรดเดอร์เอง โบรกเกอร์บางแห่งจะอนุญาตให้คุณสามารถกำหนดระดับ Stop-out ได้
โบรกเกอร์จะเรียกเก็บค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่น
โบรกเกอร์ CFD บางรายจะมีค่าสเปรดที่สูงมาก ซึ่งจะมาพร้อมกับค่าคอมมิชชั่นด้วย โดยจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของคำสั่งเทรดที่คุณเปิดด้วย หากคุณต้องการทราบผลลัพธ์ของการกำหนดราคาดังกล่าว ก็ให้ดูจากค่าสเปรด $0.1 สำหรับทองคำและค่าคอมมิชชั่น $3.50 ต่อล็อตที่โบรกเกอร์กำหนดขึ้นมา
เนื่องจากล็อตมาตรฐานของทองคำคือ 100 ทรอยออนซ์ ค่าคอมมิชชั่นทั้งหมดในการทำธุรกรรมจะเป็น $7 (ตอนเข้า + ตอนออก) รวมถึงค่าสเปรดที่ $0.1 ฉะนั้นกำไรรวมจากการเทรดจะอยู่ที่ $4,973:
ราคาซื้อ = $1,800.00 + 0.1 = $1,800.10
ราคาขาย = $1,850 – 0.1 = $1,849.90
กำไร = (($1,849.90 – $1,800.10) x 100) – $7 = $4,973
อย่างที่คุณได้เห็นแล้ว กำไรจากการทำธุรกรรมนั้นจะยังสูงอยู่ถึงแม้จะมีค่าคอมมิชชั่นก็ตาม ส่วนการขาดทุนก็จะน้อยลงเล็กน้อย:
ราคาซื้อ = $1,800.00 + 0.1 = $1,800.10
ราคาขาย = $1,750 – 0.1 = $1,749.90
ขาดทุน= (($1,800.10 – $1,749.90) x 100) – $7 = $5,013
มีตราสารทางการเงินไรบ้างที่สามารถเทรดโดยใช้ CFD
CFD มีให้เทรดสำหรับตราสารทางการเงินเกือบจะทุกประเภท
ตราบใดที่ยังมีตลาดอยู่ ตราสารทุกชนิดสามารถเทรดในรูปแบบของ CFD ได้ และในความเป็นจริงแล้ว CFD คือสัญญาที่ถูกสร้างขึ้นจากสินทรัพย์ที่จดทะเบียนแล้ว
ดังที่กล่าวไว้แล้ว CFD ที่มีการซื้อขายมากที่สุดจะอยู่ในหุ้น, ดัชนีหุ้นและโลหะ โดยเฉพาะในหุ้นสหรัฐฯ เช่น หุ้นเทคโนโลยีอย่าง Amazon, Facebook และ Google ที่มีความน่าสนใจอย่างมากเนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ โลหะ(ทองและเงิน) และปิโตรเลียมก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
ตั้งแต่เกิดฟองสบู่ในตลาด Cryptocurrency โบรกเกอร์ CFD ส่วนใหญ่ก็มีบริการเทรดคู่สกุลเงินเสมือนจริงพวกนี้ด้วย นี้ถือข้อได้เปรียบอย่างมากสำหรับนักเก็งกำไรที่สามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนได้โดยไม่ต้องมีกระเป๋าเงินดิจิตอลเองเลย
หลักทรัพย์ทั้งหมดเหล่านี้ซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับโบรกเกอร์ CFD ที่จะร่วมมือกับผู้ให้บริการสภาพคล่องในการเสนอราคา นอกจากนี้ตลาดเหล่านี้ยังมีสภาพคล่องสูงซึ่งถือเป็นการรับประกันว่าเทรดเดอร์สามารถเทรดสินทรัพย์ในราคาที่ต้องการได้ โบรกเกอร์ที่เป็นที่นิยมมักจะเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการสภาพคล่องทั่วโลกเพื่อที่พวกเขาจะได้สามารถเสนอราคาที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้
คุณควรจะเทรด CFD หรือไม่
ก่อนที่คุณจะเริ่มเข้ามาลงทุนนี้ คุณจะต้องรู้ทั้งข้อดีและข้อเสียก่อน เมื่อคุณทราบแล้วคุณจะได้สามารถคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่คุณจะต้องเจอพร้อมทั้งดูว่าความเสี่ยงนี้มันจะเกิดกว่าประโยชน์ที่คุณจะได้รับหรือไม่
ข้อดีของ CFD
CDF ช่วยให้เทรดเดอร์และนักเก็งกำไรสามารถเทรดได้ง่ายขึ้น
การเทรด CFD จะไม่เป็นที่นิยมเลยหากมันจะไม่ส่งผลดีต่อเทรดเดอร์เลย
กำไรสูง
เราได้เห็นแล้วว่าคนที่เทรด CFD สามารถทำเงินได้มากกว่าคนอื่นที่เทรดสินทรัพย์จริงๆ ในตัวอย่างของเราด้านบนนี้ คุณสามารถทำกำไรได้ $4,900 จากการลงทุนด้วยเงินเพียง $1,800 ใน CFD ของทองคำ ในทางตรงกันข้ามคุณจะทำเงินได้เพียง $50 หากคุณเทรดทองคำจริง
ในตัวอย่างนี้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่คุณจะสามารถทำกำไรจาก CFD ได้มากกว่าตราสารที่ไม่ได้ใช้ Leverage อย่างไรก็ตามในเมื่อยิ่งมีโอกาสได้กำไรสูงก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ใช้เงินทุนน้อย
มีนักลงทุนเอกชนเพียงไม่กี่รายที่สามารถซื้อหุ้นเพียงหนึ่งหุ้นของ Amazon ได้ในราคา $3,000 และยอมที่จะจ่ายในราคาเต็มที่ว่านี้
ในทางกลับกันด้วยการใช้ CFD โบรกเกอร์จะให้คุณได้ใช้ Leverage 1:100 รวมกับการที่คุณจะต้องจ่ายเพียงแค่ $30 คุณก็จะสามารถซื้อหุ้นที่เทียบเท่ากับหุ้น Amazon หนึ่งตัวนี้ได้ CFD จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ที่มีทุนจำกัด ให้ได้สามารถใช้ประโยชน์จากตลาดการเงินได้
สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
เมื่อคุณซื้อหุ้นคุณจะทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อราคาสูงขึ้น แต่ในทางกลับกันเมื่อคุณเทรด CFD คุณสามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวของราคาได้ว่ามันจะไปในทิศทางไหน
ดังนั้นหากคุณคิดว่าราคาหุ้น Amazon กำลังจะลดลงคุณก็สามารถขายชอร์ตได้โดยการเปิดคำสั่งเทรดเป็น Short บน CFD ที่คุณสามารถทำได้แบบนี้เนื่องจาก CFD เป็นตราสารอนุพันธ์และคุณไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของหุ้น Amazon เองเพื่อที่จะขาย CFD ทิ้งไป
หากคุณขาย CFD ของ AMZN แล้วจากนั้นราคาหุ้นเกิดร่วงลง คุณก็จะได้กำไรโดยการซื้อ CFD กลับคืนในระดับที่ต่ำกว่าและจะได้รับส่วนต่างระหว่างราคาขายเริ่มต้นและราคาที่ซื้อนี่เอง
ไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการใช้งาน
จุดที่แตกต่างจากตราสารอนุพันธ์อื่นๆ อย่าง Options หรือ Futures คือ CFD จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา CFD จะไม่มีวันหมดอายุที่แน่นอน อีกทั้งยังมีมีข้อจำกัดในการปิดการเทรดที่น้อยกว่ามาก
สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเลือกที่จะเข้ามาเทรดในตลาดหรือจะออกจากตลาดเมื่อไหร่ก็ได้ที่เขาต้องการ โดยที่จะไม่มีข้อจำกัด
ข้อเสียของ CFD Trading
การเทรด CFDs นั่นมีความเสี่ยงสูง ต้องมีความระมัดระวัง
การใช้ Leverage อาจนำไปสู่การขาดทุนได้สูง
การเทรด CFD อาจทำให้คุณสูญเสียเงินมากกว่าที่คุณคาดไว้ การใช้ Leverage เหมือนเป็นดาบสองคมที่สามารถเพิ่มพูนผลกำไรได้เช่นเดียวกับที่สามารถเพิ่มการขาดทุนได้
ในความเป็นจริงการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นอาจสูงกว่าผลกำไรที่คาดไว้ดังที่เราได้แสดงไว้ในตัวอย่างด้านบน จากการซื้อขายทองคำ 100 ออนซ์โดยที่ใช้ Leverage 1:100 นี้จะทำให้คุณสูญเสียเงินไป $5,100 ซึ่งถือว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุนของคุณหากราคาลดลงเพียง $50 แต่ในทางกลับกันหากคุณซื้อทองคำจริง คุณจะขาดทุนไปแค่อ $50 ซึ่งถือว่าลดลงเพียง 0.5% ของเงินทุนของคุณ
โบรกเกอร์อาจเข้ามาแทรกแซงราคาได้
เทรดเดอร์จำนวนมากได้เคยบ่นเกี่ยวกับการเปลี่ยนราคาโดยพลการเมื่อทำการสั่งซื้อผ่าน CFD ถึงแม้ว่าการที่โบรกเกอร์จะทำการปรับราคา มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยมากนัก แต่ก็ถือว่ามีความเป็นไปได้สูงเลยทีเดียวที่พวกเขาจะทำ
ในตลาดนี้แทบจะไม่เคยเกิดการฉ้อโกงขึ้นมาเลยเนื่องจาก มีตลาดหลักทรัพย์คอยตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดอยู่ ทางโบรกเกอร์เองจะไม่มีอำนาจในการทำ CFD contract ให้กับลูกค้าโดยตรง
ที่จริงแล้วมีหลายวิธีมากที่โบรกเกอร์ที่ไม่มีจิตสำนึกสามารถใช้เพื่อหลอกลวงเทรดเดอร์มือใหม่ได้ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อได้โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าโบรกเกอร์ที่คุณอยากจะใช้บริการด้วยนั้นได้รับการควบคุมอย่างดีหรือไม่
ไม่มี Dividend (เงินปันผล)
นักลงทุนในหุ้น, ETF และกองทุนรวมสามารถคาดหวังว่าจะได้รับเงินปันผลได้ แต่คุณจะไม่ได้รับเงินปันผลเมื่อเข้ามาซื้อขายใน CFD เนื่องจาก CFD เป็นแต่ผลิตภัณฑ์เสมือน ซึ่งหมายความว่างคุณไม่ได้ลงทุนในสินทรัพย์จริงๆ อยู่
สรุป
การเทรด CFD นี้มีข้อดีมากมาย แต่เนื่องจากการเทรดแบบนี้สามารถสร้างโอกาสให้เราทำกำไรได้มากนี้ มันก็หมายความว่ามีความเสี่ยงและโอกาสที่จะขาดทุนก็สูงด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มเทรด คุณก็ควรจะต้องทำการวิเคราะห์ให้ดีเสียก่อน อีกทั้งการบริหารความเสี่ยงก็มีความสำคัญมากด้วยเช่นกัน